เมนู

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประเภทของโปรแกรม

          การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่มีจำนวนมากควรเลือกคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งต้องอาศัยโปรแกรม หรือ ซอฟแวร์มาช่วยโปรแกรม หรือ ซอฟแวร์ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่มีการจัดเรียงลำดับได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถทำงานและได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้โปรแกรมต้องการ โปรแกรมจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
            1. โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ( User's Written Program ) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการ หรือ ตรงตามวัตถุประสงค์ และเหมาะสมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิคและความชำนาญของผู้เขียนโปรแกรมด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาซี เป็นต้น

            2. โปรแกรมสำเร็จรูป ( Package Program ) เป็นโปรแกรมที่มีผู้เขียนได้เขียนไว้เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมสำเร็จรูปจะให้ความสะดวกในการใช้งานมาก โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก เพียงแต่เรียนรู้วิธีการใช้งาน ซึ่งส่วนมากจะมีคำอธิบายการใช้โปรแกรมมาให้ และในขณะทำงานก็สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ที่มา : http://tsl.tsu.ac.th/

โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

            โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ( Statistical Package ) เป็นโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยตรง ในระยะแรกโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีไม่มากนักและมีใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม โปรแกรมที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) โปรแกรมสำเร็จรูป SAS ( Statistical Analysis System ) และโปรแกรมสำเร็จรูป BMDP (Biomedical Computer Program)
            ในปัจจุบันนี้ได้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้การ ประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นนักวิจัยจึงหันมาใช้ไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะมีความสะดวกมากกว่า จึงทำให้มีผู้ผลิตโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น ซึ่งมีทั้งโปรแกรมขนาดเล็กที่วิเคราะห์สถิติเฉพาะอย่าง และโปรแกรมขนาดใหญ่ที่สามารถวิเคราะห์สถิติหลายประเภท ได้แก่ โปรแกรม SPSS SAS และ BMDP ได้ถูกพัฒนามาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กันดังนี้
        โปรแกรม SPSS   สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    SPSS/PC + , SPSS FOR WINDOWS
        โปรแกรม SAS      สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    SAS ON PC DOS
        โปรแกรม BMDP  สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีชื่อเรียกว่า    BMDP-PC
  โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติอาจจำแนกตามองค์ประกอบของโปรแกรมได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
            1. โปรแกรมเบ็ดเสร็จ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบบอเนกประสงค์ มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติทุกประเภท โดยทั่วไปแล้วจะเป็นโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรม SPSS/PC , SAS , BMDP-PC , GENSTAT , MINITAB และ STATA เป็นต้น
            2. โปรแกรมที่เน้นเฉพาะด้าน เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อเน้นการวิเคราะห์เชิงสถิติประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
            -  โปรแกรมสำหรับกำหนดการเชิงเส้น ( Linear Programming) เช่น โปรแกรม LINDO โปรแกรม GINO โปรแกรม LINGO
            -  โปรแกรมที่เน้นการพยากรณ์ของข้อมูลอนุกรมเวลา เช่น โปรแกรม TSP ( Time Series Program )
            -  โปรแกรมที่เน้นทางด้าน Statistical Modeling เช่น โปรแกรม GLIM
  ลักษณะการใช้งานของโปรแกรมทางสถิติ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
            1. โปรแกรมชนิดสั่งให้ทำงานด้วยคำสั่ง ( Command Driven) ก่อนที่จะใช้โปรแกรมชนิดนี้ผู้ใช้จะต้องศึกษาคำสั่ง( Commands) ต่างๆให้เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงเขียนชุดคำสั่งเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ เช่น SPSS/PC , MINITAB , SAS และ STATA เป็นต้น
            2. โปรแกรมชนิดสั่งให้ทำงานโดยอาศัยเมนู ( Menu Driven) โปรแกรมประเภทนี้จะใช้งานง่ายกว่าโปรแกรมชนิดคำสั่ง จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ทั้งนี้เนื่องจาก โปรแกรมประเภทนี้จะแสดงรายการต่างๆออกทางหน้าจอ แล้วให้ผู้ใช้เลือกว่าต้องการใช้รายการใด เช่น โปรแกรม STATPACK , SPSS for Windows

          https://web.stoms.co.th/

ความหมายและประเภทของสถิติ

คำว่า สถิติ (Statistics) มาจากภาษาเยอรมันว่า Statistik มีรากศัพท์มาจาก Stat หมายถึง ข้อมูล หรือ สารสนเทศ   ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ต่อการบริหารประเทศในด้านต่างๆ เช่น การทำสำมะโนครัว เพื่อทราบพลเมืองในประเทศทั้งหมด
สถิติ หมายถึงตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เช่น จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุ บนท้องถนน อัตราการเกิดของเด็กทารก ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี สถิติในความหมายนี้ เรียกว่าข้อมูลทางสถิติ (Statistical data)

 สถิติ หมายถึงวิธีการที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูล

ประเภทสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
            1. สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นๆ ได้  สถิติที่อยู่ในประเภทนี้  เช่น  ค่าเฉลี่ย  ค่ามัธยฐาน  ค่าฐานนิยม          ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าพิสัย ฯลฯ
            2. สถิติอ้างอิง (Inferential statistics) เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม  แล้วสามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรได้  โดยกลุ่มที่นำมาศึกษาจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร  ตัวแทนที่ดีของประชากรได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง  และตัวแทนที่ดีของประชากรเรียกว่า  กลุ่มตัวอย่าง  สถิติอ้างอิงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                2.1 สถิติพารามิเตอร์ (Parametric Statistics ) เป็นวิธีการทางสถิติที่จะต้องเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น  3  ประการ  ดังนี้
              (1) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะต้องอยู่ในระดับช่วงขึ้นไป (Interval Scale)
              (2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
              (3) กลุ่มประชากรแต่ละกลุ่มที่นำมาศึกษาจะต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน
สถิติที่อยู่ในประเภทนี้  เช่น  t-test,  Z-test,  ANOVA,  Regression  ฯลฯ
               2.2 สถิตไร้พารามิเตอร์ (Nonparametric Statistics) เป็นวิธีการทางสถิติที่สามารถนำมาใช้ได้โดยปราศจากข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 3 ประการข้างต้น  สถิติที่อยู่ในประเภทนี้ เช่น  ไคสแควร์,  Median Test,  Sign test  ฯลฯ




ที่มา :  http://www.vcharkarn.com

ความหมายและประเภทของข้อมูล

ความหมายและประเภทของข้อมูล             ข้อมูล ( Data) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือตัวเลข ซึ่งข้อความหร...